วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Hard Disk ตัุวเก็บข้อมูล

** ฮาร์ดดิสก์ คือ อุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติ OS เช่น Windows ,Linux เป็นต้น หรือจะเป็นข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นเอกสาร เช่น เอกสารพวก Word ,Excel หรือจะเป็นข้อมูลที่ทำจากโปรแกรมอื่น ๆ นี้แหละ ครับหน้าที่หลัก ๆ ของอุปกรณ์ที่ชื่อว่า ฮาร์ดดิสก์



** สำหรับการติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ปกติแล้วก่อนติดตั้ั้งเราจะต้องกำหนดจัมเปอร์บนฮาร์ดดิสก์ให้ถูกต้อง ซึ่งฮาร์ดดิสก์ ส่วนใหญ่จะมีจัมเปอร์ระบุไว้เป็น Single หรือ Master อยู่แล้วเมื่อตอนเราซื้อมา กรณีที่มีฮาร์ดดิสก์ตัวเดียวเราก็เซ็ตจัมเปอร์ ให้เป็นตำแหน่ง Single ถ้าเราจะต่อฮาร์ดดิสก์เป็น 2 ตัว ตัวแรกจะต้องเป็น Master ตัวที่สองจะเป็น Slave (ปกติแล้ว Single กับ Master มักจะเป็นตำแหน่งเดียวกัน)






** นำฮาร์ดดิสก์เสียบเข้าช่องใต้ฟล็อปปี้ดิสก์โดยปกติจะเว้นที่ว่างประมาณ 1 ช่อง (เพื่อความแตกต่าง ตัวอย่างเว้น 2 ช่อง)






** เืลื่อนฮาร์ดดิสก์ให้ได้ตำแหน่งแล้วใช้น๊อตยึดให้แน่นครบทั้งสองด้าน





** เสียบสายแพเข้ากับขั้วต่อของฮาร์ดดิสก์ โดยหันสายด้านที่เป็นสีแดงเข้าหาสายไฟเส้นสีแดงของสายไฟเลี้ยง ฮาร์ดดิสก์ (ผมชอบ เรียกว่า แดงชนแดง ระหว่างสายแพ กับ สายไฟครับจะเป็นที่รู้กันในภาษาช่าง (: )




** เมื่อเราเสียบสายแพแล้ว ต่อมาให้เสียบสายไฟเลี้ยงฮาร์ดดิสก์ (โดยหันเส้นสีแดงเข้าหาสายแพ)


** สายที่จะต้องต่อเข้ากับฮาร์ดดิสก์มีอยู่ 2 ชุด คือ สายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ซึ่งสายสัญญาณจะเป็นสายแพที่มี หัวต่อสำหรับเสียบเข้ากับขั้วต่อ 40 เข็ม ในการเสียบจะต้องดูว่าด้านใดเป็นขา 1 และจะต้องต่อให้ถูก ซึ่งปกติแล้วขา 1 จะอยู่ ด้านที่ติดกับขั้วต่อไปเลี้ยง และตามมาตรฐานแล้วจะต้องเอาสายเส้นที่มีแถบสีแดงหรือมีลายอยู่ให้เป็นขา 1 ซึ่งบนเมนบอร์ด หรือตัวควบคุมก็จะต้องเสียบให้ถูกต้องเช่นเดียวกัน และที่สำคัญจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่าเสียบให้เหลื่อม สลับ หรือ กลับข้างโดยเด็ดขาด ส่วนสายไฟเลี้ยงก็จะใส่ได้เพียงแบบเดียวอยู่แล้ว


** อีกด้านของสายแพให้เสียบลงที่เมนบอร์ด โดยหัสด้านแถบสีแดงให้ตรงกับขา 1 ซึ่งฮาร์ดดิสก์และซีดดีรอมจะมี ขั้วต่ออยู่สองอันที่เหมือนกันให้เสียบสายฮาร์ดดิสก์ลงที่ Primary IDE (หรือ IDE 1) ส่วนซีดีรอมลงที่ Secondary IDE (หรือ IDE 2) ในบางรุ่นที่ไม่เหมือนกัน

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Blog

Blog คืออะไร
Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเองมีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ที่เจ้าของบล็อกจะเป็นคนที่ถนัดในด้านไหน ก็มักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้นและจุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเองในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้นผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สำคัญอย่างแท้จริงสรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ที่มีรูปแบบเนื้อหาเป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย